วิธีแก้ปัญาพื้นปูนร่อน
Repair of debonding of screed mortar topping
ปั
ปัญหาของพื้น topping ร่อน
เชื่อว่าผู้รับเหมาหรือเจ้าของบ้านที่สร้างบ้านเองคงเคยประสบปัญหาพื้นปูนmทับหน้าหรือ topping หลุดร่อน ซึ่งเมื่อตรวจพบเจอว่าปูนร่อนจะเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเพราะไม่สามารถปูกระเบื้องหรือทำ finishing ใดๆต่อได้ การตรวจสามารถตรวจด้วยการใช้ค้อนไล่เคาะพื้นเพื่อตรวจสอบเสียงว่ามีโพรงอากาศอยู่ภายในหรือไม่ ถ้าตรวจพบเจอก็จำเป็นต้องทำการแก้ไขก่อนที่จะปูกระเบื้องหรือปู finishing
สาเหตุนั้นมีได้หลากหลาย ดังเช่น
-
สาเหตุที่มาจากการไม่มีการเตรียมพื้นผิวระหว่างพื้นปูน topping กับพื้นคอนกรีตเดิม เช่นไม่มีการทำความสะอาด ไม่มีการทำผิวให้ขรุขระ ผิวคอนกรีตเดิมสกปรกและมีคราบน้ำมัน ผิวคอนกรีตเดิมไม่ได้มาตรฐานกำลังตามที่ออกแบบไว้
-
สาเหตุมาจากการไม่ใช้น้ำยากาวประสานคอนกรีตระหว่างชั้น ซึ่งการใช้น้ำยาประสานคอนกรีตควรใช้ให้ตรงตามวัสดุ พฤติกรรมของโครงสร้าง หรือตรงตามการใช้งาน เช่น มีการใช้งานที่หนักจำเป็นต้องเลือกน้ำยาประสานที่ให้กำลังสูง
-
เกิดจากพฤติกรรมของโครงสร้างเช่น พื้นมีการโก่งตัวมาก เป็นผลให้ดีดพื้นปูน topping โก่งและร่อน หรือพื้นเดิมเกิดการสูญเสีย friction ที่ผิวหน้าไม่เกิดการยึดเกาะกัน
-
พื้นที่ใช้งานมีการสั่นสะเทือนเกินกว่าที่จะรับได้จากการออกแบบ vibration design หรือมีการใช้งาน overloading
-
อื่นๆ เช่นมีการเคลื่อนตัวของโครงสร้างที่รุนแรง แผ่นดินไหว หรือการทรุดตัวของฐานรากที่ส่งผลต่อโครงสร้างเสียหาย
การแก้ไขพื้นปูนร่อน
Repair debond of screed mortar topping
Avenir Light is a clean and stylish font favored by designers. It's easy on the eyes and a great go to font for titles, paragraphs & more.
วิธีการซ่อมพื้นปูนร่อนด้วยการอัดน้ำยา
หลักการซ่อมแซม คือ การอัดน้ำยาอีพ็อกซี่ที่ไหลตัวได้ ลงไปใต้พื้น topping เพื่อไปประสานหรือเป็นกาวระหว่างพื้นเมื่อ น้ำยาแห้งก็จะเชื่อมประสานกันเป็นเนื้อเดียว โดยกาวอีพ็อกซี่ที่ใช้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่ถาวร ยากที่จะร่อนอีกเนื่องจากวัสดุอีพ็อกซี่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตที่สูงมาก การซ่อมพื้นปูนร่อนวิธีนี้จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลามากว่าการทุบทิ้งแล้วเทใหม่เป็นอย่างมาก
วิธีการซ่อม
-
เจาะพื้นที่ให้ทั่วบริเวณ เป็นกริด โดยมีระยะตามแต่ปัญหาการร่อนของพื้นปูน โดยมีระยะช่วงที่ระยะ 30-60 เซนติเมตร
-
ติดตั้งหัวเพื่ออัดน้ำยา เป็นตารางหรือกริดให้ครอบคลุมบริเวณที่พื้นมีการร่อนจนทั่วบริเวณ
-
อัดน้ำยาให้ทั่วบริเวณโดยใใช้เครื่องปั๊ม
-
ตรวจสอบพื้นที่ร่อนอีกครั้งด้วยค้อนหรือเครื่องมือทดสอบการร่อน
-
อัดน้ำยาอีกครั้งเมื่อตรวจพบบริเวณที่น้ำยาไม่เต็ม
-
ตรวจสอบและจบงาน
น้ำยาที่ใช้ในการเชื่อมประสานระหว่างชั้นคอนกรีตกันปูนทอปปิ้ง topping mortar มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ
1 ชนิด epoxy เป็นวัสดุเชื่อมประสานที่มีแรงระหว่างชั้นการยึดเกาะดีมาก เราจะแนะนำให้ใช้วัสดุชนิดนี้ในการซ่อมแซมปูนร่อน เนื่องจากไม่มีปัญหาหารหดตัวหรือร่อนอีก เป็นวัสดุที่ดีที่สุดในการอัดน้ำยาลงไปเชื่อม
2 ชนิด latex bonding agent เป็นกาวชนิดนึงที่มีเบสต่างๆ เช่น PVA หรือ SBR มีคุณสมบัติลองลงมาจาก epoxy ใช้ในงานที่ไม่มีความเสี่ยงมากเช่นพื้นที่ไม่ได้รับแรงหรือไม่มีวัสดุ finishing ราคาแพงติดตั้ง ควรใช้ในที่ร่มและใช้กับพื้นที่ไม่มาก เช่น 5x5 เมตร
3 ชนิด Polyurethane Rigid type Resin มีวัสดุหลักคือ โพลียูรีเทน มีการใช้วัสดุประเภทนี้น้อยเนื่องจากวัสดุมีราคาสูงและไม่เป็นที่นิยม
สรุป
วิธีการซ่อมพื้นร่อนโดยวิธีอัดน้ำยานั้น เป็นเทคนิคการซ่อมแบบใหม่ และจำเป็นต้องใช้ ช่างที่มี skill และประสปการณ์อย่างสูงเพื่อวิเคราะห์ และทำแผนการซ่อม ทางเรามีช่างที่ทำงานด้านนี้มานานและสามารถให้คำแนำกับทางลูกค้าได้ดีเยี่ยม
089-545-6452
Line ID: @rockmax
Line ID: rockmax65