top of page

บริการรับซ่อมรอยแตกร้าวผนังโครงสร้างคอนกรีต

Structural Crack Repair

รอยร้าวผนังบ้าน อย่าปล่อยทิ้งไว้! นอกจากจะทำให้บ้านของคุณดูไม่สวยงามแล้ว นั่นอาจยังเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคารบ้านเรือน ที่ส่งผลถึงความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย หากว่าบ้านของคุณกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ เราแนะนำให้ติดต่อทีมช่างผู้เชี่ยวชาญด้านบริการรับซ่อมผนังแตกร้าวโดยด่วน เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่มาของรอยร้าวนั้น พร้อมกับให้คำแนะนำ และทำการแก้ไขได้อย่างตรงจุด ROCKMAX ยินดีให้บริการ

ชนิดและประเภทของรอยร้าวในโครงสร้างคอนกรีต

สามารถแบ่งประภทรอยร้าวในคอนกรีตได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ รอยร้าวคอนกรีตโครงสร้าง (Structural Crack) และรอยร้าวที่ไม่เกี่ยวกับโครงสร้าง (Non-Structural Crack) มีรายละเอียดดังนี้

1. รอยร้าวโครงสร้าง (Structural Crack)

มีสาเหตุหลักมาจาก การออกแบบที่ผิดพลาด การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การบบรทุกน้ำหนักเกินอัตรากำหนด

2. รอยร้าวไม่เกี่ยวกับโครงสร้าง (Non-structural Crack)

ส่วนมากมักเกิดจากการยืดหดตัวของวัสดุก่อสร้าง จนเกิดรอยร้าวขนาดเล็กที่ผิวคอนกรีตหรือมอร์ต้าร์ เป็นรอยร้าวที่บางครั้งเกิดจากอุณหภูมิที่แตกต่างกัน  มิได้เป็นอันตรายเท่ากับรอยร้าวโครงสร้าง เพียงแต่จะทำให้เกิดความไม่สวยงามของพื้นผิว เช่น รอยร้าวผนังบ้าน เป็นต้น

ชนิดและประเภทของ Defect ในคอนกรีต

1) Macro Defect - มีเหตุมาจากการออกแบบทีผิดพลาด หรือการก่อสร้างที่ผิดพลาดเป็นผลให้ชิ้นส่วนโครงสร้างไม่สามารถรับกำลังได้ตามออกแบบ ต้องทำการซ่อมแซมโดยด่วน รอยร้าวจะมีลักษณะลึกหรือทะลุชิ้นส่วนคอนกรีต

2) Micro Defect - บางครั้งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สาเหตุโดยมากมาจากการใช้คอนกรีตเกรดต่ำ หรือมีส่วนผสมของน้ำมากเกิน รอยร้าวมีขนาดไม่ลึกและไม่ทะลุ

ConcreteDiag220DFs.jpg

รอยร้าว โครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก

รอยร้าว ที่เกิดบนผิวคอนกรีต เช่น เสา ผนังกันดิน หรือ คาน เป็นรอยร้าวที่ไม่สามารถยอมรับได้ หมายความว่า เมื่อมีรอยร้าวเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนคอนกรีต หรือโครงสร้างคอนกรีต จะทำให้โครงสร้างมีประสิทธิภาพในการรับแรงลดลง และไม่สามารถรับแรงได้ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งมีผลกับโครงสร้างคอนกรีตทั้งระบบ 

 

รอยร้าวมีสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย ยกตัวอย่าง เช่น การรับน้ำหนักที่มากเกินออกแบบ การออกแบบผิดพลาด การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การก่อสร้างที่ลดเสปคของวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆ 

ทั้งนี้ การซ่อมแซมรอยร้าวต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างก่อนทำการซ่อมแซมรอยร้าว

การเลือกวิธีการซ่อมแซมรอยร้าวบนผนังคอนกรีต

การเลือกวิธีการซ่อมรอยร้าวผนังบ้าน หรือในงานคอนกรีต ที่เหมาะสมนั้น จะต้องมาจากการประเมินและวิเคราะห์รอยร้าวที่เกิดขึ้น โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านบริการรับซ่อมผนังแตกร้าว เมื่อตรวจสอบวิเคราะห์แล้ว จึงจะสามารถหาวิธีซ่อมแซมรอยร้าวที่เหมาะสมที่สุดได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ารอยร้าวเกิดจากการหดตัวของคอนกรีตสด รอยร้าวจะหยุดในช่วงเวลาหนึ่ง หรือกรณีการทรุดตัวของฐานรากคอนกรีต รอยร้าวที่เกิดขึ้นจะไม่หยุดขยายตัวจนกว่าการซ่อมแซมฐานรากจะเสร็จสิ้น เป็นต้น

วิธีการซ่อมรอยรั่วด้วยอีพ็อกซี่

วิธีการซ่อมรอยร้าวประเภทนี้ใช้กับรอยร้าวที่ความกว้างมากกว่า 0.30 มิลลิเมตร หลักการคราวๆ ในการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยอีพ็อกซี่มีดังนี้ เจาะรูและติดตั้งแพ็คเกอร์ปิดรอยร้าวที่ผิวหน้าและอัดน้ำยาอีพ็อกซี่ตามรูแพ็คเกอร์

 

วิธีซ่อมแซมรอยร้าวอีพ็อกซี่ประสบความสำเร็จหลากหลายโครงการ เช่น อาคารสูง เขื่อน และโครงการสร้างคอนกรีตอื่นๆ อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจเกิดรอยร้าวใหม่ ข้างรอยร้าวเดิมอันเนื่องมาจากสาเหตุที่ต้นต่อปัญหายังไม่ถูกแก้ไข ข้อจำกัดการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวิธีนี้ คือ รอยร้าวต้องแห้งไม่มีความชื้นหรือน้ำ การซ่อมรอยร้าวที่มีความชื้นหรือน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช่วัสดุชนิดอื่น เช่น โพลียูรีเทรน เป็นต้น การซ่อมแซมรอยร้าวด้วยอีพ็อกซี่จำเป็นต้องทำการซ่อมแซมด้วยช่างที่มีประสบการณ์ทางเทคนิค

IMG_6558.JPG
IMG_6556.JPG

ขั้นตอนให้บริการรับซ่อมผนังแตกร้าว

ROCKMAX มีทีมช่างที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านงานรับซ่อมแซมรอยแตกร้าว ทั้งรอยร้าวบนผนัง รวมทั้งรอยร้าวในตัวโครงสร้าง ฐานราก ของโครงการอาคารต่าง ๆ มามากมาย เราจึงสามารถวิเคราะห์ปัญหาและเสนอวิธีการแก้ไขให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยการทำงานของเรามีดังนี้

1. ทำความสะอาดรอยร้าว
ขั้นตอนแรกคือการทำความสะอาดรอยร้าวบนผิวหน้าคอนกรีต เช่น น้ำมัน คราบสกปรก ฝุ่น คราบปูน โดยใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องดูดฝุ่น 
2.  ปิดผิวหน้ารอยร้าว
หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วรอให้ผิวคอนกรีตแห้งสนิททำการปิดผิวด้วยวัสดุชนิดอีพ็อกซี่ 2 ส่วน ผสมปิดผิว
3. ติดตั้งแพ็คเกอร์
เจาะรูตามรอยร้าวโดยมีความลึกประมาณ 13-15 มิลลิเมตร รูเจาะควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 มิลลิเมตร ติดตั้งแพ็คเกอร์ให้แน่นหนาพร้อมกับซิวอีพ็อกซี่ 2 ส่วนผสมรอบแพ็กเกอร์
4. ผสมน้ำยาอีพ็อกซี่สำหรับฉีด
กวนน้ำยาอีพ็อกซี่ให้เคร่ากันดี โดยใช้เครื่องผสมเป็นเวลา 1-3 นาที ให้สังเกตวัสดุจะเคร่ากันดี
5. การฉีดด้วยอีพ็อกซี่ด้วยปั้มแรงดันสูง
เครื่องฉีดด้วยอีพ็อกซี่ต้องมีปั้มแรงดันสูงเพื่อใช้อัดน้ำยาการเลือกระดับแรงดัน ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปสำหรับรอยร้าวในแนวดิ่งให้ทำการอัดฉีดจากล่างขึ้นบนสำหรับรอยร้าวในแนวราบให้ฉีดจากจุดนึงไปอีกจุดนึง
6. การเก็บงานและทำความสะอาด
เมื่อน้ำยาอีพ็อกซี่เช็ดตัวและแห้งตัวดีแล้วโดยทั่วไปประมาณ 24 ชั่วโมง ให้ทำการนำหัวแพ็กเกอร์ออกและเจียวัสดุปิดผิวออกด้วยลูกหมู

หลักการ ซ่อมรอยร้าว โครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก

EI (1).jpg
EI (2).jpg

วัดความกว้าง ความลึกของรอยร้าว ตรวจสอบว่ารอยร้าว ทะลุหรือไม่ทะลุคอนกรีต 

วัดความยาวของรอยร้าว และรูปแบบการร้าว

นำข้อมูลไปให้วิศวกร ตรวจสอบและแนะแนวทางแก้ไข 

ตรวจสอบรอยร้าวให้ละเอียดและ ทำการมาร์ครอยร้าวที่จะทำการซ่อมแซม

EI (4).jpg
EI (3).jpg

รอยร้าวที่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้างคอนกรีต สามารถซ่อมแซมได้ด้วยการใช้ยาแนว หรือกาวโป๊ว

ข้อมูล อีพ๊อกซี่ ซ่อมรอยร้าว Epoxy Injection Data

Rockmax EI คือ วัสดุซ่อมแซมประสานรอยร้าวในโครงสร้างคอนกรีตชนิดอีพ๊อกซี่ประกอบด้วยสองส่วนผสม มีความหนืดต่ำทำให้สามารถไหลตัวได้ดีในรอยร้าวขนาดเล็ก ให้ค่ารับกำลังสูง ใช้งานได้ทั้งแบบแรงดันต่ำและแรงดันสูง

 

ลักษณะการใช้งาน

  • ซ่อมแซมรอยร้าวในโครงสร้างคอนกรีต

  • ใช้เป็นวัสดุประสาน รอยร้าวคอนกรีตที่แยกตัวออกจากกัน

  • ใช้เติมเต็มรูโพรงในคอนกรีตที่เกิดรอยร้าว

  • ใช้ในงานซ่อมแซมคอนกรีตต่างๆ รอยร้าวต่างๆ

 

คุณสมบัติ

  • ยึดเกาะดีเยี่ยม กับรอยร้าว

  • รับกำลังได้สูง

  • ไม่หดตัว (non shrinkage)

  • สามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่มีความชื้นอยู่บ้างเล็กน้อย

วิธีการ ซ่อมรอยร้าว บนพื้นโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก

EI (9).jpg
EI (8).jpg
EI (6).jpg
EI (5).jpg

วิธีการ ซ่อมรอยร้าวคานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

epoxy injection1.jpg
epoxy injection2.jpg
epoxy injection3.jpg

vdo การซ่อมรอยร้าวถนนคอนกรีต

download ซ่อมรอยร้าวด้วยอีพ๊อกซี่ (epoxy injection)

pdf_pixabay_1493877090501_edited.jpg

ตัวอย่างโครงการซ่อมรอยร้าว