top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนOrlan P.

ข้อแตกต่างระหว่าง สีกันซึมชนิดอะคริลิค กับ สีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน (Polyurethane Waterproofing)

อัปเดตเมื่อ 14 ส.ค. 2566

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาสีกันซึมที่ใช้บนหลังคา หรือดาดฟ้า โดยพัฒนาทั้งวัสดุ และวิธีการติดตั้ง แต่วัสดุกันซึมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ สีกันซึมชนิดอะคริลิค และสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน โดยมีอัตราการใช้งานมากกว่า 60-70% ของอาคารภายในประเทศไทย ซึ่งถือว่ามีอัตราการใช้ที่ค่อนข้างสูง และแสดงให้เห็นว่าวัสดุกันซึมทั้ง 2 ชนิดนี้มีความสำคัญ และมีประสิทธิภาพในกาป้องกันการรั่วซึม เราจะเปรียบเทียบสีกันซึมทั้ง 2 ชนิดนี้ว่าจะมีความแตกต่างกัน หรือมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร โดยแบ่งเป็นหัวข้อตามความสำคัญที่จำเป็นในการป้องกันน้ำรั่วดังนี้


image 1


ความทนทานต่อรังสียูวี

ก่อนหน้านี้จะพบว่าสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน ไม่สามารถทนทานต่อรังสียูวี แต่เนื่องจากการพัฒนา Primer ของ Resin และตัวทำละลายชนิด Solvent Less จึงทำให้สีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน สามารถทนทานต่อรังสียูวี และแสงแดดได้ดีขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสีกันซึมชนิดอะคริลิค เราจะพบว่าสีกันซึมชนิดอะคริลิค มีความทนทานต่อรังสียูวี และแสงแดด ได้มากกว่าสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน


ความยืดหยุ่นตัว

ความยืดหยุ่นใช้สำหรับปกปิดรอยรอยร้าวบนคอนกรีต วัสดุมีความยืดหยุ่นสูง โดยเนื้อวัสดุสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน จะมีความยืดหยุ่นได้มากในช่วง 600-900% ตามแต่วัสดุ ส่วนสีกันซึมชนิดอะคริลิคจะมีการยืดหยุ่นโดยประมาณ 300-500% เมื่อเปรียบเทียบกันสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทนจะมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่า สามารถปกปิดรอยร้าวได้ถึง 2 มม และสามารถใช้งานได้แท้พื้นที่เป็นพื้นสำเร็จรูป


ทนทานต่อการขูดขีด

สีกันซึมชนิดโพลียูรีเทนมีค่าความแข็งประมาณ 25 สีกันซึมชนิดอะคริลิคความแข็งโดยประมาณ 35 จะเห็นได้ว่าสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทนจะมีความแข็งน้อยกว่า จึงทนทานต่อการใช้งาน และทนต่อการขูดขีดได้มากกว่า ทั้งนี้สีกันซึมชนิดอะคริลิคยังมีโอกาสในการฉีกขาด เนื่องจากมีความเปราะมากกว่า


แรงยึดเหนี่ยวกับพื้นผิวคอนกรีต

เมื่อเปรียบเทียบสีกันซึมทั้ง 2 ชนิด เมื่อติดตั้งลงบนพื้นผิวคอนกรีตจะพบว่ามีค่ายึดเหนี่ยวใกล้เคียงกัน โดยค่ายึดเหนี่ยวจะมีค่าประมาณ 2.5N/mm²


ความยากง่ายในการติดตั้ง

สีกันซึมชนิดอะคริลิคสามารถเปิดถัง และทาลงบนพื้นผิวได้ทันที ไม่ต้องละลายน้ำก่อนติดตั้ง ส่วนสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน เมื่อใช้งานจะต้องทำการเจือจางให้เข้ากับสภาพอากาศบริเวณนั้น บางครั้งมีการเหนียวบางครั้งต้องทำละลายด้วยทินเนอร์


กลิ่นขณะติดตั้งและหลังติดตั้ง

สีกันซึมชนิดอะคริลิคจะไม่ค่อยมีกลิ่น เมื่อติดตั้งแล้วสีที่ผิวจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงตามเวลา อาจจะดร็อปไปบ้างตามโทนสีที่เลือก ส่วนสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทนจะมีกลิ่นค่อนข้างรุนแรง และสีจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเนื่องจากโดนรังสียูวี เนื่องจากมีส่วนผสมที่จะทำให้วัสดุมีความเหลืองมากขึ้นตามการรับรังสี UV


ค่าใช้จ่าย

สีกันซึมชนิดอะคริลิค มีค่า material หรือ วัสดุและค่าแรง ที่มีมูลค่าต่ำกว่าสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทน โดยค่าความแตกต่างนี้อาจมีมากถึง 40-50% กรณีที่ติดตั้งที่ความหนามาก ๆ ทั้งนี้สีกันซึมทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังมีค่าแรงที่แตกต่างกัน เนื่องจากวัสดุที่ใช้มีความยากง่ายในการติดตั้งแตกต่างกัน โดยสีกันซึมชนิดะครีลิคมีลักษณะ 1 ส่วนผสม เปิดถังมาแล้วทาได้ทันที ส่วนสีกันซึมชนิดโพลียูรีเทนนั้นบางชนิด 1 ส่วน บางชนิด 2 ส่วน และอาจจะต้องเจือจางด้วยตัวทำละลาย เช่น xylene หรือ acetone จึงมีลักษณะการผสมและติดตั้งที่แตกต่างกัน


การเลือกใช้วัสดุสีกันซึม

เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ก็อยู่ที่การใช้งาน และงบประมาณของผู้ใช้งาน สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของพื้นผิว โดยทางเราขอแนะนำว่าถ้าเป็นบ้านทั่วไป พื้นที่ไม่มาก และเป็นพื้นที่หล่อเป็นเนื้อเดียวกัน หรือ cast in place slab สามารถเลือกใช้กันซึมชนิดอะครีลิค ส่วนบ้านที่มีการใช้พื้นสำเร็จรูปแล้วเทท้อปปิ้ง หรือพื้นที่มีการเคลื่อนตัวากเช่น พื้นที่มีความกว้าง มากกว่า 15 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นผืนใหญ่ผืนเดียว เราควรเลือกใช้วสัดุกันซึมชนิดโพลียูเรีทนจะเหมาะสมกว่าในเชิงเทคนิค


ข้อมูลเพิ่มเติม สีกันซึมอะครีลิค คลิก https://www.rockmaxdiy.com/waterproofing-for-roof

สนใจซ่อมน้ำรั่วดาดฟ้าหลังคา LINE ID: rockmax99

สนใจติดต่อ 0895456452 หรือ 0868139621


ดู 3,983 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page