top of page

รับเหมาซ่อมหลังคารั่ว

ซ่อมหลังคารั่ว.jpg
รับเหมาซ่อมห้องน้ำรั่ว.jpg

การซ่อมน้ำรั่วหลังคา

                ประเทศไทยมีฝนตกยาวนาน อย่างน้อย 4-6 เดือน เป็นประเทศร้อนชื้น อาคาร และบ้าน หรือโครงสร้างคอนกรีตในประเทศ จึงต้องสัมผัสกับความชื้นตลอดเวลา การตรวจสอบการรั่วซึมหลังคาควรทำเป็นประจำทุกปี การเกิดรูรั่วซึมบนหลังคาภายใน 24 ชั่วโมง จะเกิดเชื้อราบนผิววัสดุก่อสร้าง เช่น ฝ้าหลังคา เป็นต้น เราสามารถทำการตรวจสอบและแก้ไขหลังคารั่วที่มีสาเหตุมาจากน้ำฝน โดยจำแนกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

สัญญาณ หรือจุดสังเกตการรั่วซึม

                การสังเกตการรั่วซึมเสมอเป็นการป้องกันการรั่วซึมหลังคา การตรวจสอบควรมุ่งไปที่วัสดุก่อสร้างใหญ่ๆ ดังนี้ ฝ้าเพดาน, รอยน้ำ, บริเวณแสงสว่าง, ตรวจสอบรอยน้ำบริเวณท่อแอร์, ตรวจสอบรอยช้ำน้ำของสีทาภายใน, ตวรจสอบกลิ่นที่เกิดจากความอับชื้นสะสมภายในบ้าน และการตรวจสอบอื่นๆ ที่สามารถตรวจสอบได้ การตรวจสอบรอยรั่วหลังคานี้สามารถตรวจสอบได้เองโดยผู้อยู่อาศัย และควรทำการตรวจสอบทุกปี

รูปแบบหลังคาในประเทศไทย

  1. หลังคาดาดฟ้าคอนกรีต (Concrete roof desk)

  2. หลังคากระเบื้อง 

  3. หลังคาเหล็กเมทัลชีท (metal sheet roof)

  4. หลังคาประเภท ชิงเกิ้ลรูฟ

 

การตรวจสอบรูรั่วหลังคาแต่ละประเภทใช้หลักการคล้ายกัน ตามที่กล่าวมาข้างต้น การขึ้นไปดูบนหลังคาควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยให้สังเกตรอยต่อต่างๆ รอยแตกของกระเบื้อง รอยแตกของหลังคา รอยร้าวบนพื้นคอนกรีต รอยต่อแผ่นเมทัลชีท สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของหลังคา ตรวจสอบการแตกร้าว และรั่วซึมของหลังคากระเบื้อง ควรตรวจสอบในวันที่ไม่มีฝน

การทบสอบการรั่วซึม ควรทำการอุดรูระบายน้ำทั้งหมดบนพื้นผิวหลังคา ให้ทำการพ่นน้ำบนหลังคาที่มีการรั่วซึม พ่นอย่างน้อย 30 นาที แล้วมาตรวจสอบภายในอาคารว่ามีรอยรั่วหลังคาหรือไม่ หรือมุดขึ้นไปเหนือฝ้าสังเกตุช่องแสงที่เล็ดรอดเข้ามาใต้หลังคา ถ้าตรวจพบแสงเข้าให้ทำการหาจุดรั่วบริเวณนั้น ซึ่งเป็นไปได้สูงว่ามีรอยรั่วของน้ำที่สามารถเข้ามาได้

หลังคารั่ว.jpg
รั่วหลังคาซ่อม.jpg

บริการซ่อมหลังคารั่วซึม (LEAK REPAIR)

1. หลังคาคอนกรีตดาดฟ้า

จากประสบการณ์ของทีมงานแก้ไขรับซ่อมหลังคารั่วซึมของ Rockmax จุดที่มักพบปัญหารั่วซึมบนหลังคาคอนกรีตดาดฟ้า คือ 1. รั่วบริเวณรอยร้าว และ 2. รั่วบริเวณรางน้ำ หรือรูระบายหลังคาคอนกรีต บางครั้งบริเวณรางระบายน้ำอาจมีฝุ่น และขยะสะสมจำนวนมาก เป็นผลให้น้ำขังบริเวณคอนกรีตซึม ผ่านมายังรอยร้าวซึมลงหลังคาได้ จึงควรทำการซ่อมรอยร้าว และทำระบบกันซึมทั้งผืนหลังคา โดยใช้วัสดุกันซึมดาดฟ้าที่มีคุณภาพสูง

 

2. หลังคากระเบื้อง

หลังคากระเบื้องที่มีอายุการใช้งานยาวนาน จะเสื่อมสภาพ มีรอยแตกรูรั่ว น็อตเป็นสนิม ไม่มีสีทาหลังคาเหลืออยู่ น้ำจึงซึมผ่านรอยต่อระหว่างหลังคา ทำให้เกิดการรั่วซึมลงมา ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยอาจใช้วัสดุกันซึม หรือเทปกันซึมทาบริเวณรอยรั่วที่ตรวจพบ ถ้าเป็นบริเวณกว้างให้ทำการเปลี่ยนหลังคาทั้งผืนด้วยกระเบื้องใหม่ ควรแบ่งพื้นที่ทำเป็นส่วนๆ ให้จบภายใน 1 วัน มีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร

3. หลังคาเมทัลชีท

หลังคาเมทัลชีทเมื่อใช้ไปได้สักระยะจะสังเกตเห็นรอยแยกของแผ่นเมทัลชีท เนื่องจากแรงลมและการเคลื่อนตัวของแผ่นเมทัลชีท อีกสาเหตุหนึ่งมาจากน็อตที่ยึดแผ่นเป็นสนิม จึงทำให้เกิดการรั่วซึมบนหลังคาเมทัลชีท มักเป็นปัญหาที่พบเจอเป็นประจำในอาคารโรงงาน การแก้ไขให้ใช้เทปกันซึม ยาแนว พ่นสีสะท้อนความร้อน และสามารถพ่นสีสะท้อนความร้อนทั้งผืนหลังคา เพื่อป้องกันการรั่วซึมหลังคา และการซ่อมรอยต่อหลังคาสามารถใช้ได้ในสภาพดี การซ่อมหลังคาเมทัลชีทควรใช้ช่างที่มีประสบการณ์การทำงานในที่สูง และบริเวณมีลมแรง ทางบริษัท Rockmax ของเรา มีทีมซ่อมหลังคารั่ว และรับเหมาหลังคารั่วโดยเฉพาะ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 02-864-8658

หลังอตกรั่วซึม.jpg
หลังคากระเบื้องร้าว.jpg

การแก้ไขซ่อมหลังคารั่วซึม

รั่วหลังคาเมทัลชีท.jpg
ซ่อมหลังคารั่ว (2).jpg

ข้อควรระวัง และความปลอดภัยในการซ่อมหลังคา

  • ประชุมวางแผนก่อนขึ้นซ่อมหลังคา ควรทำการซักซ้อมพูดคุยประมาณ 5-10 นาที ก่อนการขึ้นไปซ่อมหลังคา เน้นย้ำถึงความปลอดภัย และอุปกรณ์ต่างๆ หรือบันทึกเหตุการณ์ และอันตรายที่เกิดขึ้นมาก่อน เพื่อใช้เน้นย้ำการขึ้นซ่อมหลังคา

  • ซ่อมหลังคาในวันที่อากาศดี ควรซ่อมหลังคาในวันที่อากาศดี ไม่มีฝนเป็นผลให้มีความปลอดภัยในการซ่อมหลังคา และยังทำให้วัสดุกันซึมแห้งตัว และเซ็ตตัวได้ตามมาตรฐาน

  • บันไดควรได้มาตรฐาน บันไดเป็นอุปกรณ์สำคัญในการขึ้นไปซ่อมหลังคา ควรตรวจสอบบันไดก่อนการขึ้นไปซ่อมหลังคาทุกครั้ง

  • สวมหมวกนิรภัย และอุปกรณ์เซฟตี้ ควรสวมหมวกนิรภัยที่ได้รับมาตรฐาน มอก. รองเท้า และอุปกรณ์เซฟตี้ที่ได้มาตรฐานก่อนขึ้นซ่อมหลังคา

  • ระมัดระวังการติดตั้งเชือก และอุปกรณ์ การติดตั้งเชือกในการโรยตัวในการติดตั้งหลังคารั่ว ควรทำการตรวจสอบเชือกที่ใช้โรยตัวว่าไม่พันกันอยู่ และต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ 100%

  • หลังคารั่วต้องทำความสะอาด ก่อนการซ่อมหลังคารั่ว พื้นผิวที่มีคราบขยะ คราบใบไม้ เศษปูน ยาแนว ควรต้องทำความสะอาดทุกครั้งที่ซ่องหลังคา

  • ราวกันตก การซ่อมหลังคารั่วที่เป็นที่เปิด มีความชื้นค่อนข้างมาก ควรทำราวกันตกตลอดแนวรอบหลังคา เพื่อป้องกันช่างทีทำงานซ่อมหลังคาพัดตกลงมา

  • ช่องเปิดควรปิดให้สนิท ช่องเปิดต่างๆบนหลังคาก่อนการซ่อมหลังคารั่วควรทำการปิดให้สนิท

  • ระมัดระวังการลื่นไถล การลื่นไถลของวัสดุหลังคา ให้ทำการตรวจสอบพื้นผิวของหลังคาที่จะซ่อม ถ้ามีความลื่นมากควรต้องมีอุปกรณ์เซฟตี้ตลอดแนว

  • ป้ายบอกทาง ก่อนการซ่อมหลังคารั่วให้ติดป้ายบอกทางต่างๆที่ใช้ในทางขึ้นลง เพื่อป้องกันการขึ้นลงผิดทิศทาง

ผลิตภัณฑ์กันซึมสำหรับงานซ่อมหลังคา

  • กันซึมชนิดอะคริลิค - ใช้ในงานซ่อมหลังคาโดยเฉพาะจะทนต่อรังสียูวี ติดตั้งได้ด้วยตัวเอง

  • กันซึมชนิดโพลียูรีเทน - มีลักษณะคล้ายกันซึมชนิดอะคริลิค แต่มีความทนทานมากกว่า

  • เทปกันซึม - เทปกันซึมใช้ซ่อมหลังคาบริเวณรอยต่อ

  • ยาแนว PU - ใช้ในการ Seal รอยต่อ และหัวน็อต

  • ผ้าใยตาข่าย - ใช้เสริมแรงสำหรับสีกันซึม

  • สีทาทับหน้า - กรณีต้องการสีที่มีความสวยงาม และหลากหลาย

 

อุปกรณ์ที่ใช้

  • แปรง หรือลูกกลิ้ง

  • มีด

  • ถังสำรอง

  • แปรงขัด และน้ำสะอาด

  • อุปกรณ์ทั่วไป

  • ปืนยิงยาแนว

 

จำนวนคนที่ใช้

ประมาณการ 1 ชุด ของทีมช่างจำนวน 3 คน จะสามารถซ่อมหลังคารั่วได้ประมาณ 100-150 ตร.ม.

หลังคาดาดฟ้าน้ำรั่ว (2).JPG
หลังคาดาดฟ้าน้ำรั่ว (3).JPG
หลังคารั่วฝ้า.jpg

การบำรุงรักษาหลังการซ่อมหลังคา

การดูแลรักษาหลังคาที่ผ่านการซ่อมหลังคารั่วแล้ว ควรทำเป็นประจำทุก 1 – 2 ปี หลังคาหลังซ่อมต้องตรวจสอบความสมบูรณ์

 

ทำความสะอาดหลังคา

ควรทำความสะอาด ดูใบไม้ เศษสิ่งสกปรก ที่จะเข้าไปอุดตันท่อระบายน้ำ หลังจากที่ซ่อมรอยรั่วหลังคามาแล้ว และดูว่าน้ำฝนระบายน้ำได้ดี ไม่มีรอยรั่ว

 

ตัดแต่งกิ่งไม้

บ้านที่หลังคาไม่ได้รับการดูแลมต้นไม้ใหญ่ ซึ่งจะไปทำลายผิวหน้าของหลังคา ควรทำการตัดแต่งทุกๆ 2-3 เดือน

 

ฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนที่ติดใต้หลังคา ถ้าสามารถเช็คได้ควรทำการเปิดฝ้าตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจสอบว่าฉนวนกันความร้อนไม่มีคาบน้ำ และสัตว์กัดแทะ

 

ตรวจสอบสีหลังคา

หลังคากระเบื้องเมื่อทำการซ่อมน้ำรั่วแล้ว ควรทำการตรวจสอบสีที่ซีดลงของหลังคา และตรวจสอบทุกระยะ 3-5 ปี

 

บันไดและทางขึ้น

ให้ทำการตรวจสอบบันไดหนีไฟ หรือบันไดเหล็กทางขึ้น เพื่อความแข็งแรงของบันได และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

 

ตรวจสอบชิ้นส่วนหลังคาที่หลุดร่อน

หลังจากซ่อมหลังคารั่วเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการตรวจสอบการหลุดร่อนชิ้นส่วนหลังคา หรือกระเบื้องหลังคา หากตรวจพบให้ทำการเปลี่ยนหรือแก้ไขโดยทันที

 

ช่องแสง

ให้ทำการตรวจสอบช่องแสง และช่องเปิดใต้หลังคา ตรวจสอบว่ารอยต่อของหลังคา และช่องเปิด ถ้ามีรอยแยกให้ทำการยาแนวด้วยยาแนวชนิดโพลียูรีเทน

 

การตรวจสอบหลังคา ควรทำเป็นประจำทุก 1-2 ปี ทั้งตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง หรือจ้างวิศวกร หรือช่างเทคนิคมาตรวจสอบได้ ทั้งนี้หลังคาเป็นชิ้นส่วนโครงสร้างที่สำคัญในการปกป้องความร้อนและความชื้น จึงควรทำการตรวจสอบด้วยความระมัดระวัง

หลังคาเมทัลชีทรั่วกับวิธีแก้ไข

หลังคาเมทัลชีทรั่วซึม.jpg

ในปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่มักนิยมใช้หลังคาเมทัลชีท เนื่องจากก่อสร้างรวดเร็วและมีราคาถูก แต่ก็ได้สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้งานมากมาย เพราะหลังคารั่วหลังติดตั้งไปเพียง 3 ปี ซึ่งมาจากหลากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ความหนาน้อยกว่ามาตรฐาน หรือ รอยต่อไม่มีการติดเทปกาวบิวทิ้วเพื่อยึดแนวรอยต่อแผ่นก่อนยิงสกรู เป็นต้น

 

การจะซ่อมหลังคาเมทัลชีทรั่ว ไม่เพียงแต่ใช้งบประมาณมหาศาล เนื่องจากการซ่อมเป็นจุดไม่เพียงแต่จะไม่ตอบโจทย์แล้ว ยังเสียเวลาการขึ้นไปทำงานอีกด้วย การซ่อมที่ดีควรซ่อมทั้งผืน จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก

การซ่อมที่ตัวสกรู - ถ้าเป็นสนิมมากควรเปลี่ยน

การซ่อมที่รอยต่อ - ถ้าเกิดการอ้าของแผ่น ควรทำการติดเทปกันซึมหรือใช้วัสดุเสริมกำลัง

แต่ถ้าหลังคารั่วอันเกิดมาจากสนิมกัดผิวจนผุ ก็จำเป็นต้องทำการซ่อมบริเวณนั้นหรือทำการเปลี่ยนแผ่นเมทัลชีท

นอกจากนั้นยังนิยมใช้วิธีการพ่นน้ำยากันซึมมากกว่าการทา เพราะมีพื้นที่กว้างและทำงานยากแล้วยังใช้เวลานาน การพ่น 2-3 รอบ ก็เพียงพอสำหรับการป้องกันการรั่วซึมหลังคาเมทัลชีท

ผลงานรับซ่อมหลังคารั่วซึมของเรา

 089-545-6452
Line ID: orlanmax

bottom of page