top of page

การทดสอบกระดาษชานอ้อยชุบน้ำมัน

Test of bitumen impreginated joint filler

กระดาษชานอ้อยชุบน้ำมัน.png

                การทดสอบความหนาแน่นกระดาษชานอ้อยชุบน้ำมัน

1.เครื่องมือ

            1.1   เครื่องชั่งที่ชั่งได้ละเอียดถึง   0.1  กรัม

            1.2   ตู้อบไฟฟ้าที่ควบคุมอุณหภูมิได้ที่  105+ 5  องศาเซลเซียส

            1.3   เวอร์เนียร์แคลลิเปอร์สที่วัดได้ละเอียดถึง 0.2  มิลลิเมตร

2.การเตรียมแผ่นทดสอบ

เตรียมแผ่นทดสอบเช่นเดียวกับข้อ 9.4.2  แล้วผึ่งไว้ที่อุณหภูมิห้อง

3.วิธีทดสอบ

            อบแผ่นทดสอบที่อุณภูมิ 105+5  องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 2 ชม. ปล่อยให้เย็นในเดซิกเคเตอร์  แล้ววัดความกว้าง  ความยาว และความหนาของแผ่นทดสอบ  นำแผ่นทดสอบไปชั่งให้ละเอียดถึง 0.1 กรัม

4.วิธีคำนวณ

            ความหนาแน่น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร = m

เมื่อ m คือ มวลของแผ่นทดสอบ  เป็นกรัม

V คือ ปริมาตรของแผ่นทดสอบ เป็นลูกบาศก์มิลลิเมตร

5.การทดสอบการดูดซึมน้ำ

5.1 เครื่องมือ

- เครื่องชั่ง  เช่นเดียวกับข้อ 1.1

-  เครื่องวัด  เช่นเดียวกับข้อ 1.3

6. วิธีทดสอบ

นำแผ่นทดสอบมาผึ่งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง  แล้วชั่งให้ละเอียดถึง 0.1 กรัม  วัดความกว้าง  ความยาวและความหนาของแผ่นทดสอบ  นำไปแช่น้ำที่อุณหภูมิ  27+2  องศาเซลเซียส โดยวางแผ่นทดสอบไว้ในแนวนอนอยู่ใต้ระดับน้ำประมาณ  25 มิลลิเมตร  เป็นเวลา 24 ชั่วโมง  นำแผ่นทดสอบขึ้นจากน้ำแล้วใช้ผ้าที่สะอาดหรือกระดาษซับ   ซับน้ำมันส่วนเกินที่ติดอยู่บนผิวหน้าของแผ่นทดสอบ  แล้วนำไปชั่งทันทีให้ละเอียดถึง 0.1 กรัม

7. วิธีคำนวณ

                        การดูดซึมน้ำ  ร้อยละโดยปริมาตร  =

เมื่อ mo  คือ มวลของแผ่นทดสอบก่อนแช่น้ำ  เป็นกรัม

    M1  คือ มวลของแผ่นทดสอบหลังแช่น้ำ  เป็นกรัม

            คือ ความหนาแน่นของน้ำที่อุณหภูมิทดสอบ  เป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

V  คือ  ปริมาตรของแผ่นทดสอบ  เป็นลูกบาศก์มิลลิเมตร

8.การทดสอบแอสฟัลต์กระดาษชานอ้อยชุบน้ำมัน

เครื่องมือ

8.1  เครื่องสกัดซอกซ์เล็ต

8.2  จานชั่งที่ทราบน้ำหนักแน่นอนแล้ว

8.3  ตู้อบไฟฟ้าที่ควบคุมอุณหภูมิได้ที่ 105+5  องศาเซลเซียส

 

 

9.สารเคมี

ไตรคลอโรเอทิลีน

- การเตรียมแผ่นทดสอบ

เตรียมแผ่นทดสอบเช่นเดียวกับข้อ

วิธีทดสอบ

          - นำแผ่นทดสอบมาผึ่งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง  แล้วชั่งให้ละเอียดถึง 0.1 กรัม วัดความกว้าง  ความยาวและความหนาของแผ่นทดสอบ  นำไปแช่น้ำที่อุณหภูมิ 27+2 องศาเซลเซียส  โดยวางแผ่นทดสอบไว้ในแนวนอนอยู่ใต้ระดับน้ำประมาณ 25 มิลลิเมตร  เป็นเวลา 24 ชั่วโมง  นำแผ่นทดสอบขึ้นจากน้ำแล้วใช้ผ้าที่สะอาดหรือกระดาษซับ  ซับน้ำส่วนเกินที่ติดอยู่บนผิวหน้าของแผ่นทดสอบ  แล้วนำไปชั่งทันทีให้ละเอียดถึง 0.1 กรัม

10.วิธีคำนวณ

                        การดูดซึมน้ำ ร้อยละโดยปริมาตร

เมื่อ mo คือ มวลของแผ่นทดสอบก่อนแช่น้ำ  เป็นกรัม

     M1  คือ มวลของแผ่นทดสอบหลังแช่น้ำ  เป็นกรัม

              คือ ความหนาแน่นของน้ำที่อุณหภูมิทดสอบ  เป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

V      คือ ปริมาตรของแผ่นทดสอบ  เป็นลูกบาศก์มิลลิเมตร

11. การทดสอบแอสฟัลต์กระดาษชานอ้อยชุบน้ำมัน

เครื่องมือ

11.1 เครื่องสกัดซอกซ์เล็ต

11.2  จานชั่งที่ทราบน้ำหนักแน่นอนแล้ว

11.3  ตู้อบไฟฟ้าที่ควบคุมอุณหภูมิได้ที่ 105+5 องศาเซลเซียส

สารเคมี

            ไตรคลอโรเอทิลีน

การเตรียมแผ่นทดสอบ

เตรียมแผ่นทดสอบเช่นเดียวกับข้อ

วิธีทดสอบ

            นำแผ่นทดสอบมาตัดเป็นชิ้นทดสอบเล็กๆยาวประมาณ 25 มิลลิเมตร  จนได้น้ำหนักประมาณ  45  กรัม  นำไปอบในตู้อบไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 105+5  องศาเซลเซียส  จนน้ำหนักคงที่  ทำให้เย็น  ในเดซิกเคเตอร์  แล้วถ่ายชิ้นทดสอบใส่จานชั่ง  ชั่งให้ละเอียดถึง 0.1 กรัม

            ถ่ายชิ้นทดสอบใส่ในทิมเบิล  แล้วสกัดด้วยไตรคลอโรเอทิลีนจนกระทั่งสารละลายที่ได้จากการสกัดใส (อาจมีสีเหลืองอ่อน)

          หลังจากการสกัด  ปล่อยให้ไตรคลอโรเอทิลีนส่วนเกินไหลออกจากทิมเบิลให้หมดก่อน  แล้วจึงถ่ายชิ้นทดสอบใส่จานชั่ง  นำไปอบในตู้อบไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 105+5  องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 1 ชั่วโมง  ทำให้เย็นในเดซิกเคเตอร์ แล้วชั่ง

วิธีคำนวณ

                        ปริมาณแอสฟัลต์  ร้อยละโดยน้ำหนัก

เมื่อ mo  คือ  มวลของชิ้นทดสอบก่อนทดสอบ  เป็นกรัม

            Mi  คือ  มวลของชิ้นทดสอบหลังทดสอบ  เป็นกรัม

bottom of page