top of page

ระบบกันซึมชั้นใต้ดิน

Basement Waterproofing

basement slab
ก่อสร้างชั้นใต้ดิน

ระบบกันซึมชั้นใต้ดินคืออะไร

โครงสร้างคอนกรีตที่อยู่ติดกับดินเช่น กำแพงกั้นดิน พื้นชั้นใต้กิน ผนังกั้นดิน ฐานรากที่อยู่ติดกับดินหรือแม้แต่ถังเก็บน้ำใต้ดินโครงสร้างคอนกรีตเหล่านี้จำเป็นต้องสัมผัสกับดินและน้ำตลอดเวลาการที่คอนกรีตต้องดูดซึมน้ำตลอดเวลานั้นเป็นผลให้

1. คอนกรีตจะมีความชุ่มน้ำตลอดเวลาเป็นผลให้เกิดการซึมผ่านของน้ำเข้ามาในตัวอาคาร

2. เกิดการกัดกร่อนบนผิวหน้าคอนกรีตซึ่งทำให้ความหนาของคอนกรีตมีขนาดบางลง

3. เกิดการซึมผ่านของไอน้ำหรือความชื้นทำให้อาคารมีความชื้นตลอดเวลา

4. อาจจะเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต

5. อายุของคอนกรีตลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

basement construction.jpg
basement design.gif

การป้องกันความชื้นและน้ำจากใต้ดิน

การก่อสร้างชั้นใต้ดินนั้นจะมีแรงดันหลักๆ อยู่ 2 แรงคือ 1.แรงดันน้ำจากดิน 2.แรงดันน้ำ หมายความว่ายิ่งก่อสร้างลึกลงไปเท่าไรแรงดันจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว การก่อสร้างผนังกั้นดินและพื้นชั้นใต้ดินก็มีความหนาไปตามรับแรงดันที่เพิ่มขึ้น ไอน้ำ ความชื้น และ น้ำ ก็มีแรงดันมากขึ้นเช่นกัน การติดตั้งวัสดุเพื่อป้องกันความชื้นและกันซึมใต้ดินต้องมีความทนทานต่อแรงดันน้ำและแรงดันดิน ทั้งยังคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น วิธีการติดตั้งกันซึมใต้ดิน ความทนทานของวัสดุกันซึมใต้ดิน และปัจจัยอื่นๆ

กันซึมใต้ดิน1.jpg
กันซึมใต้ดิน2.jpg
กันซึมใต้ดินคอนโด.jpg

วัสดุกันซึมใต้ดินมีกี่ชนิด

วัสดุกันซึมใต้ดินแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้ 2 ชนิดคือ

1. วัสดุกันซึมใต้ดินชนิดแผ่น (เมนเบรน)

2. วัสดุกันซึมชนิดทาหรือพ่น

ทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติแตกต่างกันโดยต้องคำนึงถึงวิธีการติดตั้งสภาพพื้นผิวปัจจัยและงบประมาณ ระยะเวลาในการทำงาน ซึ่งเราจะแนะนำกันซึมใต้ดินแต่ละประเภทดังนี้ กันซึมใต้ดินชนิดแผ่นเมนเบรน ระบบกันซึมชนิดนี้ใช้แพร่หลายในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา มีลักษณะเป็นแผ่นสำเร็จรูปสามารถติดตั้งได้บนผนังหรือผิวคอนกรีตโดยตรง มีความหนาให้เลือกหลายขนาดตั้งแต่ 1 มิลขึ้นไป มีประสิทธิภาพการกันความชื้นและไอน้ำได้ดี มีวัสดุให้เลือกหลากหลายชนิดเช่น PVC,ยางมะตอย,เมนโทไนท์,HDPE ราคามีหลอกหลายตั้งแต่ราคาปานกลางจนถึงสูงมาก ติดตั้งเสร็จแล้วจะมีรอยต่อเกิดขึ้น เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วระบบกันซึมใต้ดินสามารถใช้งานได้ทันที

กันซึมใต้ดินอาคาร.jpg
ผู้รับเหมากันซึมใต้ดิน.jpg

ระบบกันซึมชนิดทา

ระบบกันซึมชนิดนี้มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก มีลักษณะเป็นของเหลวเมื่อนำมาทาบนผนังคอนกรีตจะขึ้นรูปเป็นฟิล์มเพื่อปกป้องความชื้นและทำหน้าที่เป็นกันซึมใต้ดินไม่มีรอยต่อเกิดขึ้น สามารถติดตั้งไม้ความหนาไม่เกิน 1 มิลลิเมตร เมื่อติดตั้งแล้วจะต้องรอให้น้ำยากันซึมเซทตัวอย่างน้อย 48-72 ชั่วโมง วัสดุกันซึมมีหลากหลายเช่น บีทูเมน โพลียูรีเทน ซีเมนต์เบส ระบบกันซึมชนิดนี้ใช้แพร่หลายในประเทศไทยเนื่องจากมีราคาย่อมเยา แต่ปัญหาคือการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพจะด่อยกว่า

เมมเบรนชนิดลอกกาว.jpg
basement waterproofing.jpg
bottom of page