ยาแนวรอยต่อชนิดเย็นและทนน้ำมัน
Polysulphide Sealant - Oil resistance
ยาแนวชนิดโพลีซัลไฟด์
โพลีซัลไฟล์เป็นสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีจากซัลเฟอร์อะตอม โพลีซัลไฟล์ถูกค้นพบในปี 1926 โดยนักเคมีชาวอเมริกัน โดยเริ่มแรกถูกเรียกชื่อในเชิงพาณิชย์ ชื่อทางการค้าว่า Thiokol สารชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ทนทานต่อน้ำมันหล่อลื่นและตัวทำลาย สารชนิดนี้มีส่วนประกอบของซัลเฟอร์สูง ประมาณ 80% โดยน้ำหนักโดยให้สารประกอบชนิดนี้มีความหนาแน่นสูง ซึ่งเป็นผลทำให้มีความทนทานในการบวมตัวที่เกิดจากการสัมผัสที่เกิดจากน้ำมัน โดยหลักการรวมๆ แล้วโพลีเมอร์ชนิดนี้ ถูกใช้ในการอุดหรือซีลรอยต่อที่ต้องการประสิทธิภาพในการทนน้ำมัน และทนต่อสภาพภูมิอากาศ
ลักษณะการใช้งาน
ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสารโพลีซัลไฟด์ สามารถออกแบบสูตรให้มีค่าความยืดหยุ่นสูง-ต่ำ ออกแบบการบ่มตัว และออกแบบลักษณะทางกายภาพ ทั้งยังสามารถเพิ่มความทนทานด้วยการเพิ่มหรือปรับแต่งสูตรการเคมี ทั้งยังสามารถทนต่ออุณหภูมิได้สูงถึง 100 องศาเซลเซียส ทั้งยังรวมถึงการทนทานต่อแสงยูวี และทนทานต่อปฎิกิริยาและอ็อกซิเดชั่น การยาแนวชนิดโพลีซัลไฟด์สามารถทำให้มีการยืดหยุ่นได้และทนทานต่อสารเคมี มี 2 แบบคือ ชนิดหนึ่งส่วนผสมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และชนิด 2 ส่วนผสม ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานมากกว่าชนิดส่วนแบ่งผสม และยังทนทานต่อน้ำมัน โอโซน ทะเล แสงแดด ยาแนวชนิดโพลีซัลไฟล์ สามารถออกแบบให้มีการไหลที่ดี เป็นฉนวนไฟฟ้า และยังทนทานต่อการกัดกร่อนสามารถบ่มตัวเองในอุณหภูมิบรรยากาศทั่วไปได้ ทนทานต่อการสั่นสะเทือน แรงกระแทก และแรงกระทำต่างๆทนทานแม้กระทั่งน้ำมันเบนซิน ก๊าซธรรมชาติ ทีโลซีน แอลกอร์ฮอร์ น้ำมันดิบ
พื้นที่การใช้งาน
- อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์
- อุตสาหกรรมเคมี
- อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมก่อสร้าง
ยาแนวชนิดโพลีซัลไฟด์ใช้ได้จากหลากหลายพื้นที่ เช่น ยาแนวสนามบิน ยาแนวถังน้ำมัน
ยาแนวอุตสาหกรรมถังน้ำมัน แท่นขุดเจาะน้ำมันใช้เป็นยาแนวสำหรับกันน้ำรั่วในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ถนนผนังกั้นน้ำ กำแพงกันดิน ถนนที่มีการใช้งานสูงหรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมต่อเครื่องบิน ใช้ในพื้นที่สนามบินโดยเป็นยาแนวรอยต่อ โรงจอดเครื่องบินทั้งยังใช้ในการอุตสาหกรรมการต่อเรือ