การเตรียมพื้นผิวคอนกรีตก่อนติดตั้งระบบกันซึม (surface preparation) ในบางกรณีจำเป็นที่ต้องมีการปรับระดับเพื่อให้พื้นผิวมีความต่อเนื่องและไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่ง เมื่อมีฝนตกน้ำจะนองที่แอ่ง ซึ่งเมื่อน้ำนองเป็นเวลานาน จะทำให้พื้นผิวปูนหรือวัสดุกันซึมเดิมเสื่อมสภาพเร็วมากและน้ำจะซึมลงห้องหรือพื้นชั้นล่าง เป้นผลให้เกดิการรั่วซึมจากดาดฟ้า และต้องทำการซ่อมแซมหลังคารั่ว
การปรับระดับด้วยปูนไหลตัวชนิดบางพิเศษปรับได้ตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร ถึง 15 มิลลิเมตร เป็นปูน self levelling ที่สามารถไหลตัวได้ แต่ก่อนที่จะเทปูนปรับระดับ ขั้นตอนที่สำคัญคือการเตรียมพื้นผิวเพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างปูน self levelling กับพื้นผิวคอนกรีตเดิม การเพิ่ม texture หรือภาษทางวิชาการว่า shear key ก็สามารถตกแต่งได้ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น grinding machine, scarifying machine สำหรับงานใหญ่ หรืองานที่มีขนาดเล็กสามารถใช้ hand grinding ได้ เมื่อเตรียมพื้นผิวเดิมแล้วเรายังไม่เทปูนปรับระดับทันทีแต่ต้องเพิ่มอีก 1 ขั้นตอนคือ การทาน้ำยาประสานคอนกรีต
การทาน้ำยาประสานคอนกรีตกับพื้นผิวปูนเก่า ทำได้สองแบบคือแบบทาซึ่งสามารถทาลงบนพื้นผิวเดิมได้เลย ลักษณะจะคล้ายกาวเพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะ อีกแบบนึง คือผสมน้ำยาประสานคอนกรีตกับทรายและปูนซีเมนต์ เมื่อผสมดีแล้วมีลักษณะคล้ายมอร์ต้าร์ใช้ฉาบลงบนผิวหน้า ทั้งสองวิธีมีการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามแต่สภาพหน้างานและเสปควัสดุ (material specification) ที่ตามข้อกำหนดของโครงการก่อสร้างนั้น การเทปูนปรับระดับให้ทำขณะที่น้ำยาประสานคอนกรตยังคงไม่แห้งตัวเต็มที่ หรือแห้งเพียงเล็กน้อยมีลักษณะคล้ายกาว จึงให้เทปูนปรับระดับลงที่ผิวหน้านี้ทันทีอย่ารอให้น้ำยาแห้งเด็ดขาด ระวังอย่าทำงานในขณะที่มีความร้อนสูงเช่น ตอนเที่ยงวัน เพราะอาจมีระยะเวลาทำงานได้ไม่มากนักและไม่สามารถควบคุมการแห้งตัวได้ ถ้าน้ำยาประสานคอนกรีตแห้งตัวจำเป็นต้องทำการทาซ้ำอีกรอบ
กาวน้ำยา latex ยังแบ่งออกเป็นภายในและภายนอก เช่น หน้างานต้องการปรับระดับภายในสามารถเลือกใช้ตัวที่เหมาะสมกับสภาพหน้างานได้ ส่วนการผสมการคัดเลือกทรายสามารถเลือกตามข้อกำหนด Datasheet
สนใจน้ำยาประสานคอนกรีตติดต่อ Line ID: rockmax99 โทร 0868139621
Comments